- Sense of Nang Loeng: Community Art
- Sense of Nang Loeng: KINPLOEN...LEARNLOENG
- Sense of Nang Loeng: JUB JIB JAB JAI
- Sense of Nang Loeng: NANG LOENG MEMORY WALL
- Sense of Nang Loeng: SCENE OF LIGHT - SCENE OF LIFE
- Sense of Nang Loeng: Trok Khun Loeng
- Sense of Nang Loeng: Sartorial
- Bangkok Design Week 2023: Sense of Nang Loeng
- Community x Covid-19
- Buffalo Field Festival II
- [Artist-in-residence] “Buffalo Field Festival II,” Openspace & Mike Hornblow
- [Artist-in-residence] “Buffalo Field Festival I,” Openspace & Mike Hornblow
- Buffalo Field Festival I
- [Artist-in-residence] It’s my turn, Chiharu Shinoda and Mai Nakabayashi
- [Artist-in-residence] “Four Chances for Drama”: Short Chatri, Chiharu Shinoda and Mai Nakabayashi
- [Artist-in-residence] Woong Moong
- Goodbye Message from Tamarind
- [Artist-in-residence] Pattrica Lipatapunlop
- [Artist-in-residence] FaiFai
- Walk the Alleyways | เตร่-ตรอก
- E-lerng
- [Artist-in-residence] ชิฮารุ ชิโนดะ
- Lakhon Chatri | ละครชาตรี
- Community Art
SCENE OF LIGHT - SCENE OF LIFE
นักออกแบบ : ขวัญพร บุนนาค - Kwanporn Bunnag
ชุมชนนางเลิ้งเป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านแหล่งของวัฒนธรรมศิลปะหรืออาหารการกิน อันเกิดจากการเป็นชุมชนแบบพหุวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างไทย จีน แขก หลักฐานที่หลงเหลืออยู่ในรูปแบบของการแสดงเช่น ละครชาตรี อาหารการกินเช่นก๋วยเตี๋ยวแคะ ขนมเปี๊ยะ ขนมไทยต่างๆ
ผู้ออกแบบเลือกพื้นที่การออกแบบจากการมองหาพื้นที่ว่างที่สามารถสร้างเป็นพื้นที่กิจกรรมที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้พื้นที่ในเวลากลางวันและกลางคืนได้ รวมทั้งยังเลือกเส้นทางการเดินในย่านและพื้นที่ที่ต้องการความจำเป็นของแสงสว่างในแต่ละพื้นที่และบริบทของแต่ละส่วนในชุมชน
รูปแบบผลงานที่เกิดขึ้น แสงสว่างจะทำหน้าที่ให้พื้นที่ที่เป็นของชุมชนได้กลายเป็นฉากที่มีชีวิตในเวลากลางคืนหลังจากวิถีชีวิตในเวลากลางวันผ่านพ้นไปและอนุญาตให้ผู้คนเข้าใช้พื้นที่อย่างอิสระในเวลากลางคืนจนเกิดเป็นฉากของกลางวันและกลางคืนที่แตกต่างกัน การออกแบบแสงสว่างที่ตั้งใจคือให้พื้นที่งานของสถาปนิกและผู้ออกแบบในงานนี้ทุกคนได้แสดงตัวชิ้นงานได้ออกมาอย่างมีอัตลักษณ์เหมือนฉากหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชุนของชุมชนที่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้ามามีความสัมพันธ์กับคนในชุมชนได้ รูปแบบการใช้แสงสว่างคือการให้แสงสว่างหรือโคมไฟเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง โคมที่ใช้เลือกใช้แสงที่เป็นเส้น(Linear) เพื่อแสดงกรอบหรือฉากของงานสถาปัตยกรรม สีของแสงเลือกเป็นสีชมพูและเหลืองตามโครงสร้างของงานออกแบบและสีของแสงเหลืองทำให้รู้สึกมีชีวิตชีวาขณะสีชมพูทำให้รู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย
นิทรรศการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 12 กุมภาพันธ์ เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 18.00 – 21.30 น.
การแสดงไม่มีค่าเข้าชม สามารถเดินชมได้อย่างอิสระ