- Sense of Nang Loeng: Community Art
- Sense of Nang Loeng: KINPLOEN...LEARNLOENG
- Sense of Nang Loeng: JUB JIB JAB JAI
- Sense of Nang Loeng: NANG LOENG MEMORY WALL
- Sense of Nang Loeng: SCENE OF LIGHT - SCENE OF LIFE
- Sense of Nang Loeng: Trok Khun Loeng
- Sense of Nang Loeng: Sartorial
- Bangkok Design Week 2023: Sense of Nang Loeng
- Community x Covid-19
- Buffalo Field Festival II
- [Artist-in-residence] “Buffalo Field Festival II,” Openspace & Mike Hornblow
- [Artist-in-residence] “Buffalo Field Festival I,” Openspace & Mike Hornblow
- Buffalo Field Festival I
- [Artist-in-residence] It’s my turn, Chiharu Shinoda and Mai Nakabayashi
- [Artist-in-residence] “Four Chances for Drama”: Short Chatri, Chiharu Shinoda and Mai Nakabayashi
- [Artist-in-residence] Woong Moong
- Goodbye Message from Tamarind
- [Artist-in-residence] Pattrica Lipatapunlop
- [Artist-in-residence] FaiFai
- Walk the Alleyways | เตร่-ตรอก
- E-lerng
- [Artist-in-residence] ชิฮารุ ชิโนดะ
- Lakhon Chatri | ละครชาตรี
- Community Art
Trok Khun Loeng | ตรอกคุณเลิ้ง
นักออกแบบ: จูน เซคิโน
ประวัติศาสตร์ของชุมชนนางเลิ้งเกี่ยวข้องกับการเติบโตของกรุงเทพฯ ที่นี่เป็นทั้งศูนย์รวมทางวัฒนธรรมนาฏศิลป์ ดนตรี อาหาร เป็นแหล่งการจ้างงาน เป็นศูนย์อาหารของบรรดาข้าราชการในหน่วยต่างๆ ที่อยู่รายรอบชุมชน จากการเปลี่ยนแปลงของบริบทชุมชนเมืองในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อชุมชนนางเลิ้งอย่างมาก ทั้งการย้ายศูนย์ราชการ การขยายตัวของเมือง รวมทั้งปัญหาโรคติดต่อ Covid-19 จากเดิมที่ชุมชนนางเลิ้งเริ่มก่อตัวขึ้นจากการย้ายพระราชวังเดิมมายังสวนดุสิต ทำให้เกิดชุมชน มีการจ้างงาน การทำขนมและอาหารส่งเข้าวัง รวมทั้งเป็นแหล่งศิลปะการดนตรี ในช่วงเวลาต่อมาชุมชนนางเลิ้งเป็นพื้นที่ของผู้ตามหาฝันในอาชีพนักแสดง นักดนตรีตามบ้านครูดนตรี ศิลปิน และเป็นศูนย์รวมอาหารราคาย่อมเยาสำหรับข้าราชการรอบพื้นที่ เมื่อมีการย้ายศูนย์ราชการจึงทำให้ชุมชนขาดรายได้ และปัญหา Covid-19 ทำให้ระบบดิลิเวอรีเข้ามาทดแทนความจำเป็นของตลาดในชุมชน ทำให้ตลาดเงียบเหงา ชุมชนเกิดการว่างงาน พื้นที่ซึ่งเคยคึกคักกลับกลายเป็นพื้นที่ร้าง ไม่ปลอดภัย จึงเกิดเป็นคำถามว่าในฐานะนักออกแบบ เราจะนำการออกแบบมาช่วยพัฒนาพื้นที่ได้อย่างไร
ดังนั้นจึงใช้โอกาสนี้ เลือกปรับปรุงพื้นที่เดิมที่กระจายตัวอยู่ในย่านนางเลิ้ง ให้เกิดเป็นพื้นที่กิจกรรมสาธารณะชั่วคราว เพื่อส่งเสริมกิจกรรมและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน จากการออกแบบพื้นที่ด้วยภาษาที่เรียบง่ายจากสิ่งที่สามารถพบปะได้ในตลาดนางเลิ้ง ไม่ว่าจะเป็นลังพลาสติก ปี๊บขนม หรือสีสันของงานผ้า ถ่ายทอดออกมาตามคาแรคเตอร์ของที่แตกต่างกันไปของพื้นที่แต่ละจุด ซึ่งเมื่อกิจกรรมสิ้นสุดลง ยังสามารถมอบกลับคืนให้คนในชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ต่อไป
นิทรรศการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 12 กุมภาพันธ์ เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 7.00 – 21.30 น.
การแสดงไม่มีค่าเข้าชม สามารถเดินได้อย่างอิสระ