ย่านนางเลิ้งเป็นพื้นที่อยู่ระหว่างคลองรอบกรุง กับคลองผดุงกรุงเกษม มีพัฒนาการยาวนานกว่า 200 ปี เคยเป็นพื้นที่ทุ่งนาและมีผู้คนอยู่เบาบางนับแต่สมัย กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อเกิดการขยายตัวของ กรุงเทพฯในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทําให้ ย่านนางเลิ้งกลายเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนทั้งไทย เขมร ลาว ญวน และจีน หนาแน่นขึ้น และนับตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ย่านนางเลิ้งค่อยๆ พัฒนา กลายเป็นย่านที่อยู่ของเจ้านายกลายเป็นย่าน ความเจริญ เกิดตลาดนางเลิ้งที่ต่อมากลายเป็น ย่านศูนย์กลางการค้าและแหล่งบันเทิงที่มีชื่อเสียง ย่านหนึ่งของกรุงเทพมหานครและสืบมานานกว่า 100 ปี เมื่อประมาณ 40 ปีที่ผ่านมาความรุ่งเรืองของย่านนางเลิ้ง ต้องพลิกผันกลายเป็นเพียงความทรงจําที่ผู้คนทั้งใน ชุมชนและผู้ที่เคยไปเยือนได้เล่าขานกันมาจนทุกวันนี้
ย่านนางเลิ้ง ท้องทุ่งกว้างฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ของพระนคร : บ้านสนามกระบือ
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาล ที่ 1 - รัชกาลที่ 3 หรือ พ.ศ. 2325 - 2394) 70 ปีแรก ของการสถาปนากรุงเทพมหานคร บริเวณนางเลิ้งมี สภาพเป็นท้องทุ่งอยู่นอกกําแพงเมืองพระนครโดยมี คลองรอบกรุงคั่นอยู่ มีคลองมหานาคอยู่ทางทิศใต้ ระยะนี้จึงมีผู้คนอยู่เบาบางทั้งชาวไทย เขมรและลาวที่ ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลยศึกและได้เคยช่วยขุดคูเมืองและ สร้างกําแพงพระนคร
ย่านนางเลิ้งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของพระนคร เป็นที่อยู่ประปรายของคนไทยบ้างและ เชลยศึกบ้างที่กวาดต้อนมาทั้งเขมรและลาวที่ถูกเกณฑ์ ให้ขุดคูสร้างกําแพงพระนคร รวมทั้งมอญล่องเรือมา ค้าขายและตั้งบ้านเรือน นอกจากนี้ยังมีชาวใต้ทั้งชาวละคร ชาวตะลุง และชาวสงขลาที่ติดตามกองทัพของพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซึ่งไปปราบกบฏที่ภาคใต้เข้ามายังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้ด้วย ซึ่งปรากฏชื่อเรียกบริเวณนี้ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่า “บ้านสนามกระบือ” (ทิพากรวงศ์ (ขําบุนนาค), เจ้าพระยา 2504 : 225-226) แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า “บ้านสนามควาย”
บ้านสนามควาย หรือ บ้านสนามกระบือใน สมัยรัชกาลที่ 3 จึงเป็นทุ่งกว้างใหญ่มีผู้คนหลายกลุ่ม จำนวนไม่มากนักอยู่กันอย่างเบาบาง อันเป็นพื้นที่นอก พระนคร มีการใช้เส้นทางคมนาคมทางน้ําเป็นหลักงคลองรอบกรุง (คลองบางลําพู คลองโอ่งอ่าง) ออก สู่แม่น้ําเจ้าพระยาทางด้านเหนือและด้านใต้ จากคลอง รอบกรุงผ่านคลองหลอดเข้าคลองคูเมืองเดิมเข้าสู่ ใจกลางพระนคร และจากคลองรอบกรุงออกคลองมหานาคออกไปสู่พื้นที่อันโล่งกว้างทางตะวันออกของพระนครได้ เส้นทางเหล่านี้ได้กลายเป็นเส้นทางแลกเปลี่ยนการค้าที่สําคัญต่อมาด้วย
ชาวใต้กลุ่มหนึ่งที่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านสนามควายนั้นโปรดเกล้าฯ ให้เป็น “ไพร่หลวงเกณฑ์บุญ” ฝึกเป็น ช่างปูนช่างศิลาหลวง ชาวใต้กลุ่มนี้ได้มี การนําเอาศิลปะการแสดงขอ ประเภทโขน ละครชาตรี หนังตะลุง ลิเก และดนตรีปี พาทย์เข้ามาจนกลายเป็น เอกลักษณ์และสร้างชื่อเสียงสืบต่อกันมา นาน และปัจจุบันยังสืบสานคงอยู่คู่กับ ย่านนี้ ที่สําคัญ คือ คณะครูพูน เรืองนนท์ และลูกหลานซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน
ผู้คนทั้งไทย เขมร ลาว มอญ และ ชาวใต้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัด สนามกระบือ (หรือวัดสนามควาย) หรือ
วัดแค ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็น ศูนย์รวมจิตใจและศูนย์กลางชุมชน ตอนต้น (ที่มา: กรุงเทพฯ 2489-2539, 2539 หน้า 35)
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2364 - 2367) นี้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองแสนแสบต่อจากคลอง มหานาคตัดไปออกแม่น้ําบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ทําให้การคมนาคมจากคลองมหานาคขยายออกไป สู่ท้องทุ่ง และพื้นที่ด้านตะวันออกของพระนครไปจนถึง จังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี ทําให้เกิดความสะดวก ต่อการคมนาคมและการขนส่ง จึงมีผู้คนสัญจรและ เกิดการค้าแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้คนอพยพ เข้ามาบริเวณย่านสนามกระบือเพิ่มขึ้น บ้านสนามกระบือมิใช่พื้นที่นอกพระนครอีกต่อไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 - 2411) ทรงเสด็จเสวยราชย์ ทั้ในปีแรกทรงพิจารณาเห็นว่าบ้านเมืองเจริญขึ้นผู้คนก็ เพิ่มมากกว่าเมื่อเริ่มสร้างกรุงจึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการ ขยับขยายพระนครออกไปทางด้านตะวันออกโดยการ ขุด “คลองขุดใหม่” หรือ “คลองผดุงกรุงเกษม” ขนาน กับคลองรอบกรุง พร้อมทั้งสร้างป้อมตามแนวริมคลอง 8 ป้อม
ผลของการขุดคลองนี้ทําให้บ้านสนามกระบือ กลายเป็นเขตพื้นที่ในพระนคร และเป็นการเปิดพื้นที่ การทํานา ทําสวนมากขึ้น เกิดเส้นทางสัญจรทางน้ําเพิ่ม ขึ้นอีก คือ คลองผดุงกรุงเกษมที่สามารถออกสู่แม่น้ํา เจ้าพระยาทั้งทางด้านเหนือ (บริเวณวัดเทวราชกุญชร หรือ วัดสมอแครง) ย่านเทเวศร์ หรือผ่านลงไปทางด้านใต้ผ่าน คลองมหานาคและย่านวัวลําพอง (หัวลําโพง) ไปออกแม่น้ํา เจ้าพระยาบริเวณวัดแก้วแจ่มฟ้าบริเวณ สี่พระยา
นอกจากนี้หลังจากขุดคลองผดุงกรุงเกษมแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ชาวญวนจากเมืองกาญจนบุรีกลุ่มหนึ่งที่ถูกกวาด ต้อนมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวให้ย้ายมาตั้งบ้านเรือนที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม (ใกล้สะพานจตุรพักตร์รังสฤษดิ์) ฝั่งตรงข้ามวัดสนาม กระบือ ชาวญวนกลุ่มนี้ต่อมาได้ร่วมกันสร้างวัดอนัมนิกาย ของตนขึ้น คือ วัดเกี่ยงเพื่อกสื่อ หรือที่ชาวบ้านเรียกกัน ต่อมาภายหลังว่า วัดญวนนางเลิ้ง เป็นศูนย์รวมในการ ปฏิบัติศาสนกิจ
ชุมชนเริ่มขยายมากขึ้น ต่อมาพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดโสมนัสราชวรวิหารขึ้นริมคลองผดุงกรุงเกษมนี้ และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอารามหลวงราชวรวิหาร ชั้นโท ซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของ วัดสนามกระบือและในรัชกาลนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้ เปลี่ยนชื่อวัดสนามกระบือหรือวัดแค เป็นวัดสุนทรธรรมทานด้วย
นางเลิ้งกับการพัฒนาสู่ความทันสมัย
หลังจากการเปิดประเทศด้วยการทําสนธิสัญญาบาวริง ในปี พ.ศ. 2398 สยามผูกพันกับเศรษฐกิจโลก มีชาวต่างประเทศทั้งจีน ฝรั่งและแขกต่างทยอยกันเข้า มาตั้งห้างร้านและตัวแทนจําหน่ายสินค้าในกรุงเทพฯ มี สินค้าหลากหลายเข้ามาสู่สยาม เกิดธุรกิจโรงแรม ท่าเรือ ค้าปลีก ค้าส่ง รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการค้าและธุรกิจใน กรุงเทพฯด้วยการสร้างสาธารณูปโภคที่ทันสมัยแบบ ตะวันตก เช่น ไฟฟ้า ประปารถเจ็กรถลากรถราง ไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรเลข ถนนหนทาง สะพานข้ามคลองให้รถ วิ่งและมีการสร้างวัง สถานที่ราชการ อาคารตึกฝรั่ง ห้องแถว ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง กายภาพของกรุงเทพมหานครทีละน้อย เพื่อตอบ สนองการขยายตัวทางการค้าภายในเมืองและการค้า ระดับประเทศ กรุงเทพฯ ค่อยๆ พัฒนาเป็นมหานครทางการค้า ในที่สุดย่านสนามกระบือซึ่งมีวัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค) และวัดโสมนัสราชวรวิหารซึ่งเป็นวัดราษฎร์และวัดหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชนก็เช่นกันได้ค่อยๆพัฒนาขึ้นและทวีความสําคัญอย่างเด่นชัด หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453) ทรงขยายพระราชวังสวนดุสิตออกมานอกแนวคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเป็นคลองคูพระนครใหม่ พร้อมกับมีการตัดถนนหลายสาย เช่น ถนนราชดําเนิน (ใน กลาง และนอก) ถนนสามเสน ถนนกรุงเกษม ถนนหลานหลวง ถนนลูกหลวง ถนนนครสวรรค์ ถนนพะเนียง ถนน จักรพรรดิพงษ์ ถนนศุภมิตร ถนนพิษณุโลก อีกทั้งยังมีการสร้างสะพานข้ามคลองต่างๆ เพื่อใช้ในการสัญจรถึงกันได้สะดวก เป็นการเปิดพื้นที่นอกกําแพงพระนครทั้งด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก โดยเฉพาะทางทิศตะวันออกบริเวณบ้านสนามกระบีย ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นพื้นที่ที่มีความเจริญ และกลายเป็นย่านที่ผู้คนเข้าถึงได้ทั้งการคมนาคม ทางบกและทางน้ํา
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานที่ดินบริเวณพื้นที่นอกแนวคลองผดุงกรุงเกษมที่เปิดใหม่ บริเวณ บ้านสนามกระบือและใกล้เคียงนี้ให้พระราช โอรสสร้างวังต่างๆ 10 กว่าวัง บริเวณนี้ จึงกลายเป็น “ย่านวัง" เจ้านาย ได้แก่ วังกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (วังนางเลิ้ง) วังกรมหมื่นไชยศรีสุริโยภาส วังกรมหลวง สิ่งหวีกรมเกรียงไกร (วังสะพานขาว) วัง สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ (วัง วรติศ) วงจอมพลหลวงนครไชยศรีสุรเดช (วังมหานาค) วังจันทรเกษม วังสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ (วัง ปารุสกวัน) วังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรี ราเมศร์ (วังลดาวัลย์) วังกรมหลวงปราณ กิติบดี วังกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (วังบาง ขุนพรหม) และวังกรมหลวงจันทบุรีนฤนารถ เป็นต้น พร้อมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยการ รับวัฒนธรรมตะวันตกในรูปแบบการก่อสร้าง วังและความนิยมในสินค้าอุปโภคและบริโภคของตะวันตกตามมามากขึ้น
เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นและผู้คนทั้ง พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง เจ้านาย ข้าราชการ ต่างขยับขยายออกมาอยู่นอกกําแพงพระนครมากขึ้น เครื่องอุปโภค บริโภคจึงเป็นสิ่งจําเป็น เกิดพื้นที่ทําการค้าขายใกล้ริมคลองผดุงกรุงเกษมเป็นระยะ ตั้งแต่ปากคลองผดุงกรุงเกษมเรื่อยมาจนถึงบริเวณบ้านสนามกระบือ โดยเฉพาะบริเวณย่านสนามกระบือที่อยู่ใกล้คลองผดุงกรุงเกษมได้เกิดพื้นที่ทำการค้าขาย ขยายตัวริ่มติสองทั้งทางน้ําก่อนในระยะแรกเริ่มและ ขยายมาบนบกริมคลอง ต่อมาเกิดการขยายตัวการค้าทางบกถัดจากริมคลองเข้ามาเล็กน้อยเมื่อมีการ สร้างถนนบริเวณบ้านสนามกระบือหลายสายตั้งที่ กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะถนนตลาด (หรือต่อมาเรียกว่า ถนนนครสวรรค์)ซึ่งผ่านใจกลางย่านนี้ พร้อมทั้งมีการสร้างอาคารร้านค้าที่อยู่อาศัยสองฝั่งถนนตลาดนี้และสร้างอาคารโรงตลาดขึ้นมาซึ่งปรากฏเรียกชื่อเป็นทางการว่า ตลาดนางเลิ้ง
ตลาดนางเลิ้ง ตั้งอยู่ริมถนนตลาดหรือถนน นครสวรรค์ เปิดอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2443 (29 มีนาคม รศ.118) จนเป็นข่าวเด่นข่าวดังในยุคสมัยนั้น ลงในหนังสือพิมพ์บางกอกสมัย ฉบับ 30 มีนาคม รศ. 118
ตลาดแห่งนี้ได้กลายเป็นตลาดที่ทันสมัย ตื่นตา ตื่นใจของผู้คนโดยรอบและจากที่ต่างๆ มีผู้คนมาจับจ่ายข้าวของกันมากมาย ทั้งนี้นิราศพระราชวังดุสิต กล่าวไว้ว่า “ถึงตลาดนางเลิ้งดูเจิ้งว้าง คณานางน่าซมซ่างคมสัน นั่งร้านรายขายผักน่ารักครั้น ห่มสีสันแต่ร่างดังนางใน พวกจีนไทยในติสาตก็กลัดกลุ้ม ทั้งสาวหนุ่มแซ่อยู่เด็กผู้ใหญ่ นั่งขายของสองข้างหนทางไป ล้วนเข้าใจพ้อชัตชํานาญ"
(สุจิตต์ วงษ์เทศ 2545 : 239)
ย่านตลาดนางเลิ้งกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ แห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ
อย่างไรก็ตามตลาดนางเลิ้งมิใช่ตัวอาคารตลาดเท่านั้นแต่หมายรวมถึงอาคารตึกห้องแถวรอบๆตัวตลาด อันได้แก่ ศึกห้องแถวหน้าตลาดริมถนนนครสวรรค์ 2 ฝั่งต่อเนื่องมายังตึกแถวริมถนนกรุงเกษมซึ่งส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 80-100 ปี (สร้างราวปี พ.ศ. 2443 - 2473) ต่อมามีการขยายสร้างตึกแถวริมถนนพะเนียงและริมถนนศุภมิตรเพิ่มขึ้นอีก ทําให้ตัว อาคารตลาดเป็นใจกลางของย่านการค้ากลุ่มนี้ ในอดีตตัวอาคารตลาดตรงกลางเป็นตลาดสด เน้นขายของสตทั้งเนื้อสัตว์ ของทะเล ผักและผลไม้นานา ชนิดและตึกแถวรอบๆตัวตลาดขายของสตบ้าง ของแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภคหลากหลาย บ้างเป็นร้านอาหาร ส่วนตึกแถวริมถนนตลาด ถนนกรุงเกษมจะเป็นร้านขายของอุปโภคบริโภครวมทั้งของใช้จากต่างประเทศด้วยการค้าจะเป็ดขายทั้งวัน เจ้านาย ข้าราชการทั้งพลเรือนและ ทหารบริเวณโดยรอบและใกล้เคียงต่างมักพากันมาจับจ่าย ซื้อของกันตึกตัก รวมทั้งผู้คนที่อยู่ไกลออกมามักเดินทางไปซื้อของกันในย่านนี้ที่นับว่าขายของที่ทันสมัยและเป็น ย่านศูนย์รวมสินค้ามากมายหลากหลายที่โดดเด่นของกรุงเทพฯในยุคนั้น
ผู้คนโดยเฉพาะคนจีนค่อยๆเคลื่อนย้ายเข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานอยู่หนาแน่นขึ้น ส่วนกลุ่มคนดั้งเดิมยังคงอยู่รอบๆวัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค) และบริเวณรอบวัดโสมนัสราชวรวิหาร ส่วนชาวญวนจะอยู่บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งตรงข้ามโดยอยู่รอบๆ วัดเกี้ยงเพื่อกสื่อ หรือ วัดญวนนางเลิ้ง ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดนี้ให้ใหม่คือ วัดสมณานัมบริหาร แต่เนื่องจากอยู่ใกล้สะพานขาวจึงนิยมเรียกกันในระยะหลังว่าวัดญวนสะพานขาว
อย่างไรก็ตามย่านตลาดนางเลิ้งกลายเป็นถิ่นค้าขายและอาศัยของชาวจีนที่กระจุกตัวอยู่หนาแน่นขึ้นและชาวจีนเหล่านี้ได้ร่วมกันสร้างศาลเจ้าเล็กๆเป็นศาลไม้ไว้ตรงกลางตัวตสาต มีการอัญเชิญเข้าหลายองค์ มาสถิตย์ เช่น เจ้าพ่อกวนอู เพื่อสักการะให้เก็ต ศิริมงคลต่อชีวิตและการค้า ชาวบ้านเรียกขานศาลนี้ว่า ศาลเจ้านางเลิ้ง ต่อมาภายหลังได้มีการขยับขยาย สร้างเป็นศาลเจ้าจีนขนาดใหญ่กว่าขึ้นแทนและมี การอัญเชิญสมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์มา ประทับที่ศาลนี้ด้วย ต่อมาเสด็จเตี้ยมีความสําคัญกลายเป็นเทพประธานของศาลนี้เนื่องจากชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวบ้านย่านนางเลิ้งต่างเคารพนับถือพระองค์และวังของพระองค์ คือ วังนางเลิ้งยังตั้งอยู่ใกล้ตลาดนางเลิ้งอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพาณิชยการพระนครด้านริมถนนพิษณุโลกเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ
ดังนั้นปัจจุบันศาลเจ้านางเลิ้งจึงนิยมเรียกว่า “ศาลเสด็จพ่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” หรือ “ศาลเสด็จเตี่ย” ด้วย ซึ่งนอกจากจะมีการไหว้เทพเจ้าจีนตาม ระเพณีจีนในวันตรุษจีน วันสารทจีนเป็นหลักแล้ว ยังมีงานใหญ่ประจําปีที่สําคัญของศาลนี้และของย่านนี้ คือ งานวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จกรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งตรงกับวันที่ 19 ธันวาคมของทุกปีโดยจัดเป็นงานใหญ่ราว 2-3วัน มีจิ๋ว มีลิเก มีละครชาตรี มีการเซ่นไหว้ และแห่องค์เทพประธานของศาล ชาวบ้านและผู้คนมากมายเข้าร่วมงาน
เป็นที่น่าสังเกตว่า เอกสารเก่าก่อนและในรัชกาลที่ 5 ตอนต้นที่กองจดหมายเหตุมักเรียกย่านนี้ว่าบ้าน สนามกระบือ (ชาวบ้านเรียกบ้านสนามควาย) และต่อมาปรากฏใช้เรียกถนนสนามกระบือ (ซึ่งต่อมามีการสร้างวังริมถนนนี้จึงเรียกถนนนี้ใหม่ว่าถนนหลานหลวง) วัดสนามกระบือและตําบลสนามกระบือ นับตั้งแต่มีการสร้างตลาดนางเลิ้ง และมีการเปิดตลาดนี้อย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.2443 แล้วหลังจากนั้นชื่อสนามกระบือหรือสนามควายค่อยๆหายไป คําว่า “นางเลิ้ง” เริ่มเป็น ที่รับรู้และรู้จักกันมากขึ้นแทนที่ไปในที่สุด
คําว่านางเลิ้ง นักวิชาการและผู้รู้ต่างให้ข้อคิดยังไม่ลงตัว บ้างว่ามาจากภาษาเขมรว่า ฉนังเพิ่ง บ้างว่า มาจากภาษามอญว่า อีเลิ้ง เนื่องจากมีชาวมอญมักนําภาชนะใส่น้ําที่เรียกว่า อีเลิ้งใส่เรือล่องมาจอดขายที่ย่านนี้ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า อีเลิ้งที่ต่อมาเพี้ยนเป็นนางเลิ้ง อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานลายลักษณ์อักษรว่ามีการใช้เขียนเรียกย่านนี้ว่า ฉันงเพิ่ง หรือ อีเลิ้ง การเรียกย่านนี้ว่า “นางเลิ้ง” เริ่มปรากฏครั้งแรกเมื่อใดไม่ทราบแน่ชัด แต่เท่าที่ปรากฏหลักฐานพบว่ามีการใช้คําว่า นางเลิ้งในเอกสารในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453)เป็นต้นมา ได้แก่ ตําบลนางเลิ้ง อําเภอนางเลิ้ง และตลาดนางเลิ้ง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2436-2468) มีการนําคําว่านางเลิ้งไปใช้เรียกสถานที่ต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาในพื้นที่นี้และบริเวณใกล้เคียงอีก เช่น โรงพัก ตลาดนางเลิ้ง สนามม้านางเลิ้ง และโรงหนังนางเลิ้ง เป็นต้น
ย่านนางเลิ้งศูนย์กลางการค้าและแหล่งบันเทิง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468) ทรงขยายและสร้างความเจริญสู่พื้นที่นอกพระนครมาทางด้านตะวันออกที่เป็นทุ่งนา “ทุ่งส้มป่อย” อีกด้วยการสร้างตําหนักจิตรลดารโหฐานที่ประทับของพระองค์อีกแห่งหนึ่ง บริเวณย่านนางเลิ้งจึงกลายเป็นย่านกลางกรุงมากขึ้น ตลาดนางเลิ้งคึกคักขึ้นต่อมามีการตั้งโรงพักขึ้นด้านหน้าตลาดนางเลิ้งข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปเล็กน้อยมีการตั้งสนามม้านางเลิ้งและเมื่อผู้คนมากขึ้นจึงมีการสร้างโรงหนังนางเลิ้ง และข้างๆโรงหนังนางเลิ้งเกิดแหล่งผู้หญิงขายบริการที่เรียกว่า “ตรอกสะพานยาว” เกิดมีโรงบ่อนและโรงฝิ่น อีกทั้งการแสดงศิลปะพื้นบ้านของกลุ่มตรอกละครย่านนี้โต่งตั้งเฟื่องฟู
โรงพักตลาดนางเลิ้ง เริ่มแรกเป็นอาคารไม้ ตั้งอยู่ริมถนนตลาดหรือถนนนครสวรรค์ด้านหน้าตลาด นางเลิ้งใกล้วัดโสมนัสราชวรวิหาร ซึ่งปรากฏในแผนที่กรุงเทพฯในปี พ.ศ. 2450 เรียก “โรงพักตลาดนางเลิ้ง” แต่ข้อมูลสถานีตํารวจนครบาลนางเลิ้ง กล่าวว่าตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2456 เดิมเรียกสถานีตํารวจแขวงนางเลิ้ง หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “สถานีตํารวจนางเลิ้ง” และต่อมาเปลี่ยนเป็น “สถานีตํารวจนครบาลนางเลิ้ง” ในปี พ.ศ. 2495 อาคารหลังเดิมเป็นไม้ มีสภาพทรุดโทรมคับแคบจึงย้ายไปอยู่ ที่ใหม่ใกล้แยกสะพานผ่านฟ้า
การมีตํารวจไว้ดูแลชุมชนแสดงให้เห็นถึงความสําคัญของย่านตลาดและชุมชนนี (พ.ศ. 245362468) มีการนําคําว่านางเลิ้งไปใช้เรียกสถานที่ต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาในพื้นที่นี้และบริเวณใกล้เคียงอีก เช่น โรงพัก ตลาดนางเลิ้ง สนามม้านางเลิ้ง และโรงหนังนางเลิ้ง เป็นต้น
สนามม้านางเลิ้งตั้งอยู่คลองผดุงกรุงเกษมฝั่งตรงข้ามกับตลาดนางเลิ้ง เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2459 โดยพระยาประดิพัทธภูบาลและพระยาอรรถการประสิทธิ์ได้ทูลเกล้าถวายหนังสือขอพระบรมราชานุญาตตั้งสโมสรสนามม้าแข่งขึ้นเพื่อบํารุงพันธุ์ม้า โดยใช้พื้นที่ หลวงซึ่งอยู่ใกล้ย่านนางเลิ้งนี้ สนามม้านางเลิ้งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนี้จึงมีลักษณะเป็นสโมสรที่ดําเนินการบํารุงพันธุ์ม้า มีการสั่งพันธุ์ม้าผู้จากอังกฤษ อาหรับ ออสเตรเลีย มาเมืองไทยเพื่อให้คนไทยหาม้าตัวเมียมาผสมพันธุ์ และที่สําคัญจะมีกิจกรรมการแข่งม้าเป็นหลักและต่อมาได้มีกีฬาประเภทอื่นๆด้วย ปัจจุบันสนามม้านางเลิ้งมีอายุเกือบ 100 ปีแล้ว ทําให้ย่านนางเลิ้งมีผู้คนมากหน้าหลายตาจากหลายทิศ มาชุมนุมดูการแข่งม้าและที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือการพนัน ชาวนางเลิ้งมักพูดถึงคนในชุมชนจํานวนหนึ่งยังชอบดูชอบพนั้นมาด้วยเช่นกัน
ย่านนางเลิ้งเป็นย่านของศิลปะการแสดงที่มีชื่อเสียงมานับแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะบริเวณ “ตรอกละคร” ซึ่งอยู่ติดถนนหลานหลวง (เดิมเรียกว่า ถนนสนามกระบือ) และอยู่ติดวัดสุนทรธรรมทาน (หรือ ดแค ระยะหลังชาวบ้านเรียกว่าวัดแคนางเลิ้งไปด้วย) มีทั้งโขน ละคร หนังตะลุง สิเก และดนตรีปี่พาทย์ มีหลายคณะ คณะที่โด่งดังเก่าแก่มีชื่อเสียงสืบทอดมาจนทุกวันนี้ คือ คณะละครที่สืบเชื้อสายมาจากละครชาวใต้ที่ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในย่านนี้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 คือ คณะของนายพูนเรื่องนนท์ ดังนั้นบริเวณปากตรอกละครจะมีป้ายติดไว้ “นายนนท์ บิดา คณะครูพูน เรืองนนท์ มีละคร หนังตะลุง ลิเก พิณพาทย์ไทย มอญ”
บ้านเรือนในตรอกละครนี้เป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยนับแต่บรรพบุรุษครูพูน ครูพูนและภรรยาทั้งห้า ปัจจุบันลูกๆ หลานๆ ของครูพูนยังอาศัยอยู่ เมื่อเดินเข้าตรอกมักพบชุดละครแขวนอยู่และเห็นชาวละครปักชุดละครอยู่ ขุนวิจิตรมาตราหรือนายสง่า กาญจนาคพันธุ์ (พ.ศ. 2440 - 2523) ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับกรุงเทพฯ สมัยเมื่อ 90 ปีที่ผ่านมาว่าจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศลงไปเป็นตําบลสนามควายเป็นถิ่นของกลุ่มละครชาตรี มีนายพูน เรืองนนท์ เป็นโต้โผละครชาตรีที่มีชื่อเสียง ที่หน้าบ้านจะมีเสาเล็กๆปักไว้ ยอดเสามีกรวยใส่ ศรพระขรรค์ กระบองดาบเล็กๆ รวมทั้งธงแดงที่เป็น เครื่องหมายว่าที่นี่มีละครชาตรี “รับงานหา” เพื่อไป เล่นในงานต่างๆ และแก้บนด้วย ในอดีตย่านหลานหลวงซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของย่านนางเลิ้งจึงมีชื่อมากเรื่องศิลปะการแสดง ที่ขาด ไม่ได้คือ การได้แสดงที่ตลาดนางเลิ้ง ชาวบ้านทั้งใกล้และ ไกลมักเล่าถึงการได้ชมละครและลิเกที่ตลาดนางเลิ้งถือ เป็นเรื่องสนุกสนานน่าชมมากในยุคนั้น
โรงหนังนางเลิ้งตั้งอยู่ข้างตลาดนางเลิ้งเป็นอาคารไม้ค่อนข้างใหญ่มีสองชั้น หลังมุงด้วยสังกะสี ชาวบ้านเล่าว่าเดิมน่าจะเป็นโรงลิเกก่อนแล้วค่อยปรับสร้างเป็นโรงหนังเป็นหนึ่งในโรงภาพยนตร์ของบริษัทพยนต์พัฒนาการเปิดฉายภาพยนตร์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2461 ได้รับความนิยมมากในขณะนั้นระยะแรกเป็นหนังใบ้ก่อน ต่อมาจึงเป็นหนังพากย์ ภายในโรงหนังจะมีที่นั่งเป็นม้านั่งยาวเรียงราย ในปี พ.ศ. 2475ได้มีการเปลี่ยนชื่อโรงหนังนางเลิ้งเป็น “ศาลาเฉลิมธานี” เพื่อร่วมเฉลิมฉลองกรุงเทพฯครบ 150 ปี ทุกวันนี้ชาวบ้านยังมีความทรงจํากับการชมภาพยนตร์ ก่อนการฉายภาพยนตร์จะมีแตรวงมาเล่นหน้าโรงภาพยนตร์เชิญชวนผู้คนมาชม บริเวณหน้าโรงหนังมีขนมของกินต่างๆวางขายและที่สําคัญมิตร ชัยบัญชา ดาราภาพยนตร์ยอดนิยมสมัยก่อนก็เคยอาศัยอยู่ย่านนี้และภาพยนตร์เรื่องที่มิตร ชัยบัญชานําแสดงยังนํามาฉาย ที่โรงนี้ก่อนที่จะประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตจากการแสดง อัฏฐิของเขาได้ฝังไว้ที่วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค นางเลิ้ง)
สิ่งที่ตามมากับความเจริญของย่านตลาดศูนย์กลางการค้าที่ผู้คนคึกคักนอกจากโรงหนังแล้ว ในยุคก่อนยังมีโรงฝิ่น โรงบ่อน แหล่งสถานหญิงขายบริการหรือบ้านโคมเขียวตามมาด้วย ย่านนางเลิ้งก็เช่นเดียวกันมีตรอกสะพานยาว ซึ่งเป็นตรอกเล็กๆข้างโรงหนังนางเลิ้ง เดิมตรอกนี้เป็นที่อยู่อาศัยก่อน เมื่อความเจริญเข้ามาสู่ย่านนางเลิ้ง ตรอกนี้ค่อยๆกลายเป็นแหล่งที่อยู่ของหญิงขายบริการหรือโสเภณีไป ชาวบ้านเล่าว่ากลุ่มผู้ชายที่มาเที่ยวส่วนใหญ่เป็นคนต่างถิ่นโดยเฉพาะทหารซึ่งอยู่ไม่ไกลจากย่านนี้ย่านที่มีความเจริญทางการค้าเกือบทุกแห่ง ในกรุงเทพฯยุคก่อน รวมทั้งย่านเยาวราชมักมีสถาน หญิงขายบริการเสมอ
ในปี พ.ศ. 2472 (ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2468 - 2475) เกิดไฟไหม้ย่านนางเลิ้งหลายครั้ง เช่นในเดือน มกราคม พ.ศ. 2472 เกิดไหม้ห้องแถวหลังโรงหนังนางเลิ้ง 7 ห้องและบ้านเรือนชาวบ้าน 21 หลัง และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2472 ไฟไหม้ตึกแถวเชิงสะพาน เทวกรรมรังรักษ์อีกหลายห้อง (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 46 หน้า 306 และ 3970) แต่การค้าขายของย่านนางเลิ้งก็ยังฟื้นและดําเนินมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484 2489) การค้าหยุดชะงักไปอีกระยะหนึ่งแต่เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2489 การค้าย่านนี้รุ่งเรืองเช่นเดิมโดยอาศัยการคมนาคมทางบกและทางน้ํา ทางบกคือถนนรอบๆย่านนางเลิ้งและผ่านนางเลิ้งโดยมี ทั้งรถม้า รถยนต์และรถรางสายสีแดง ส่วนทางน้ําที่สําคัญคือคลองผดุงกรุงเกษมยังคงคึกคักอยู่ดังที่เห็นจากภาพถ่ายเก่าที่ถ่าย ในปี พ.ศ. 2489 ภาพเก่าเหล่านี้ล้วนถ่ายในปี พ.ศ. 2489 โดยนายวิลเลี่ยม ฮันท์ แสดงให้เห็นว่าช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ย่านนางเลิ้งมีบ้านเรือนผู้คนหนาแน่นอยู่บริเวณโดยรอบวัดสุนทรธรรมทาน ตลาดนางเลิ้ง และ วัดโสมนัสราชวรวิหาร การคมนาคมทางน้ํารอบพระนครยังคงมีอยู่และค่อนข้างคึกคักโดยเฉพาะย่านนางเลิ้ง
วันนี้นางเลิ้งเปลี่ยนแปลงไป
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (หลังพ.ศ. 2489) ย่านนางเลิ้งและตลาดนางเลิ้งยังรุ่งเรืองอยู่ เส้นทางคมนาคมทั้งทาง น้ําและทางบกยังคึกคัก แต่หลังปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา เส้นทางคมนาคมทางน้ํารอบๆย่านนี้เริ่มค่อยๆลดความสําคัญลงเรื่อยๆ เพราะบริเวณรอบนอกกรุงเทพมหานครได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆตามลําดับ มีการสร้างถนนหนทางขยายมากขึ้นทั้งทางฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ทําให้ผู้คนขยับขยายออกไปตั้งบ้านเรือน ห้างร้าน และเกิดห้าง สรรพสินค้าที่ทันสมัยกว่า ผู้คนจึงไม่จําเป็นต้องไปจับจ่ายของในย่านกลางเมืองเช่นย่านตลาดนางเลิ้ง
บริเวณย่านนางเลิ้งที่เคยเจริญ และคึกคัก ในฐานะย่านการค้าที่ทันสมัยเริ่มได้รับผลกระทบ และ ต่อย ๆ ซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการที่ เคยเป็น "ย่านวัง” ของพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เริ่มค่อยหมดไป นับตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 และเมื่อต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคมส่งผลให้หลายวังถูกปรับเป็นอาคารพานิช ที่อยู่ อาศัยที่ทันสมัย สถานที่ราชการและหน่วยงานต่างๆ จึง เหลือวังในย่านนี้เพียงไม่กี่วังที่ทายาทที่ยังสืบต่อมา
โรงฝิ่น ที่ริมถนนกรุงเกษมย่านตลาดนางเลิ้ง ที่มีผู้คนจากที่ต่างๆมาใช้บริการต้องปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2506 เนื่องจากการสูบฝิ่นและการมีฝุ่นไว้ใน ครอบครองกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายในสมัยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ตรอกสะพานยาว ด้านข้างโรงหนังเฉลิมธานี ซึ่งเป็นแหล่งบันเทิงเริงรมย์หรือย่านโสเภณีราคาถูก ของตลาดนางเลิ้งที่โด่งดังมานานได้ถูกไหม้เกือบหมด สิ้น ในปี พ.ศ. 2513 เหลือบ้านผู้หญิงโสเภณีอยู่เพียงไม่ กี่หลัง อีก 3 ปีต่อมาทางวัดสุนทรธรรมทานเจ้าของที่ดิน ได้นําพื้นที่บริเวณตรอกสะพานยาวพัฒนาเป็นตึกและ อาคารที่อยู่อาศัยแทน ตรอกสะพานยาวจึงเหลือแต่ ตํานานการเล่าสู่กันจนทุกวันนี้
ตรอกละคร ถัดตลาดนางเลิ้งเข้าไปทาง ด้าน ถนนหลานหลวงและติดกับวัดสุนทรธรรมทาน เป็น กลุ่มบ้านเรือนศิลปินนักแสดงทั้งดนตรีปี่พาทย์ ละคร ชาตรี ลิเก หนังตะลุงที่มีชื่อเสียงย่านหนึ่งของกรุงเทพ มหานคร โดยเฉพาะของคณะของครูพูน เรืองนนท์ ที่สืบเชื้อสายศิลปะการแสดงมาจากบรรพบุรุษที่อพยพ มาจากเมืองนครศรีธรรมราชนับแต่สมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ในปี พ.ศ. 2525 ได้เกิด เพลิงไหม้บ้านเรือนย่านตรอกละครรวมทั้งได้เผาผลาญ อุปกรณ์การแสดงและตัวหนังตะลุงเสียหายอย่างหนัก จนการสืบทอดการเล่นหนังตะลุงต้องเลิกไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตามลูกหลานนายพูน เรืองนนท์ ที่บางส่วนยัง สร้างที่อยู่ใหม่บริเวณที่เดิมได้พยายามรวบรวมอุปกรณ์ ที่เหลืออยู่และสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อสืบสานและดํารง ภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดง โดยเฉพาะด้านดนตรี ปีพาทย์ และละครชาตรีต่อมาท่ามกลางกระแสความ นิยมที่ลดน้อยถอยลงอย่างมากมายในปัจจุบัน
ทุกวันนี้โขน หนังตะลุง ลิเก ย่านนี้ไม่มีแล้ว ยังคงมีแต่ละครหรือที่เรียกว่าละครชาตรีหลานหลวง และดนตรีปี่พาทย์ฝีมือชั้นครูที่เป็นทายาทของครูพูน เรืองนนท์
ปัจจุบันทายาทของคณะครูพูน เรืองนนท์ที่ ยังสืบทอดศิลปะการแสดงโดยเฉพาะละครชาตรี ได้แก่ คณะครูทองใบเรืองนนท์ของคุณบัวสาย เรืองนนท์ คณะกญญาลูกแม่แพน (หรือละครชาตรีกัญญา ทิพโยสถ) ของคุณกัญญา ทิพโยสถ คณะวันดีนาฏศิลป์ (หรือคณะวันดีลูกสาวครูพูนเรื่องนนท์) ของคุณวันดี เรืองนนท์ คณะครูพูนเรื่องนนท์ ของคุณสุภาภรณ์ ฤกษะสาร และคณะกนกพรทิพโยสถ ของคุณกนกพร ทิพโยสถ
ส่วนดนตรีปี่พาทย์นั้นที่โดดเด่นคือ ครูพิณ เรืองนนท์ ผู้มีฝีมือกลองและเครื่องหนังชั้นบรมครูใน ขณะนี้ และมีคณะศิษย์เรืองนนท์ของคุณบุญสร้าง เรืองนนท์ผู้สืบสานดนตรีปี่พาทย์จากครูพูน เรืองนนท์ นอกจากนี้ยังมีลูกหลานครูพูน เรืองนนท์อีกหลายคนที่มี ความสามารถเรื่องเครื่องหนัง ดนตรีปี่พาทย์ซึ่งมักได้รับ เชิญไปร่วมเล่นกับคณะอื่นๆ อยู่เสมอ
ในอดีตย่านหลานหลวงซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของย่านนางเลิ้งจึงขึ้นชื่อเรื่องศิลปะการแสดง ที่ขาด ไม่ได้คือ การได้แสดงที่ตลาดนางเลิ้ง ชาวบ้านทั้งใกล้และ ไกลมักเล่าถึงการได้ชมละครและลิเกที่ตลาดนางเลิ้งถือ เป็นเรื่องสนุกสนานน่าชมมากในยุคนั้น
โรงหนังนางเลิ้ง หรือโรงหนังเฉลิมธานี เริ่ม กลายเป็นโรงหนังที่ล้าสมัย เดิมเคยมีผู้คนมาชมภาพ ยนตร์200-300 คน ต่อมาเหลือเพียง 10-20 คนจน โรงหนังประสบภาวะการขาดทุน สภาพโรงหนัง ทรุดโทรมลง ถึงจะทําการซ่อมบํารุงก็ไม่คุ้มทุน ท้าย ที่สุดโรงหนังจําต้องปิดตัวลงในปีพ.ศ. 2536 และได้กลาย เป็นกุดังเก็บของ แต่ด้วยรูปแบบอาคารโรงหนังเรือนไม้ที่ เก่าและหาดูได้ยากในกรุงเทพมหานคร เมื่อ 5 ปีที่ผ่าน ชาวบ้านย่านนางเลิ้งตระหนักเห็นความสําคัญและตื่นตัวพยายามช่วยกันรณรงค์การอนุรักษ์และอยากฟื้นโรง หนังนี้ให้มีชีวิตและใช้เป็นพื้นที่พลิกฟื้นความเป็นนางเลิ้ง ขึ้นมาก่อนที่จะหายไปกลับการเปลี่ยนแปลงที่กําลังเกิด ขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วในปัจจุบัน
ตลาดนางเลิ้ง ทั้งตลาดสดและอาคารร้านค้า โดยรอบเริ่มค่อยๆ ซบเซาลง ผู้คนมาจับจ่ายซื้อของ อุปโภคบริโภคน้อยลงเพราะผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เกิดขึ้น ร้านค้าตึกแถวโดยรอบ เริ่มปิดตัวลง บ้างอพยพออกไปอยู่แถบรอบนอก ที่ยัง คงเปิดร้านค้าอยู่ก็ดําเนินกิจการเล็กๆ น้อยๆ ที่ขาย ของสดประเภทเนื้อสัตว์ ปลา ของทะเล ผัก ผลไม้ มี ขายบ้าง แต่ไม่มากนัก เกิดการปรับตัวของตลาดสดและ ร้านค้าโดยรอบที่เดิมเปิดขายของสด อาหาร ของใช้ทั้ง วัน มาเปลี่ยนเป็นเน้นการขายอาหารสําเร็จรูป เช่น ก๋วยเตี๋ยวเป็ด เป็ดย่างหมูแดง ข้าวแกง ข้าวขาหมู มะหมี่เป็ด ขนมผักกาด ขนมกุยช่าย อาหารตามสั่ง ไส้กรอกปลาแหนม ขนมหวานชนิดต่าง ๆ มากมาย เน้น การขายช่วงพักรับประทานอาหารกลางวันเป็นหลักเพื่อ รองรับข้าราชการ พนักงานบริษัท และชาวบ้านในย่านนั้น และลูกค้าขาประจําในอดีตที่ยังติดใจในรสชาดร้าน อาหารและขนมที่อร่อยสืบต่อกันมาช้านานของย่านนี้
สนามม้านางเลิ้ง หรือราชตฤณมัยสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งปัจจุบัน มีอายุ 90 กว่าปีแล้วทําให้ย่านนางเลิ้งยังพอมีผู้คนมาก หน้าหลายตาจากหลายทิศมาชุมนุมชมการแข่งม้าใน วันอาทิตย์เว้นอาทิตย์ และบ้างก็แวะมารับประทาน อาหารกันบ้างในช่วงกลางวันและช่วงค่ําเมื่อเลิกการ แข่งม้า ชาวนางเลิ้งจํานวนหนึ่งก็ชอบดู บ้างที่ติดพัน กับการพนันม้าคงมีบ้าง แต่สนามม้ามิได้มีแต่การแข่งม้า แต่ยังมีกีฬาอื่นๆ ให้เล่น เช่นกอล์ฟ เทนนิส แบทมินตัน และว่ายน้ํา เป็นต้น
บ้านญวนนางเลิ้ง ริมคลองผดุงกรุงเกษมซึ่ง มีวัดสมณานัมบริหารหรือที่เรียกกันว่า วัดญวนนางเลิ้ง
หรือวัดญวนสะพานขาว ที่อพยพมาจากเมืองกาญจนบุรี ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ปัจจุบันลูกหลานกลายเป็นไทย แต่ยังคงสืบทอดการ นับถือพุทธศาสนาแบบอนัมนิกายและประเพณีพิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีไหว้บูชานพเคราะห์ เป็นต้น
ทุกวันนี้ย่านนางเลิ้งยังมีผู้คนทั้งไทย ลูกหลาน ไทยเชื้อสายจีน และลูกหลานไทยเชื้อสายญวนยังอยู่ร่วม กันอย่างเข้าใจกัน มีปฏิสัมพันธ์กันมาแต่อดีตจนปัจจุบัน โดยมีตลาดนางเลิ้งเป็นศูนย์กลาง
การคมนาคมมาย่านนางเลิ้งปัจจุบันใช้เส้นทาง คมนาคมบกทางเดียว ถึงย่านนางเลิ้งและโดยรอบจะมีถนนมากมาย แต่สภาพการจราจรที่หนาแน่นในปัจจุบัน และการเดินรถในถนนโดยรอบมักเป็นการเดินรถทาง เดียว ทําให้การมาเยือนย่านนางเลิ้งไม่สะดวกเพราะรถติดและไม่มีที่จอดรถ ร้านค้าพานิชและตลาดนางเลิ้งจึงยิ่ง ซบเซา หลายบ้านต้องปิดตัวลงอีกและจํานวนไม่น้อย อพยพออกไปหาที่อยู่ใหม่ แต่ในขณะเดียวกันมีผู้อพยพ เข้ามาอยู่ใหม่เพื่อเป็นแรงงานและทํางานย่านกลางเมือง ทําให้หลายจุดของย่านนี้กลายเป็นชุมชนแออัด
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ชาวบ้านทั้งที่อยู่มานาน และที่อพยพเข้ามาอยู่ใหม่มักอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์ ทุกคนส่วนใหญ่มักไปทําบุญที่วัดสุนทรธรรมทาน รู้จักกัน
เกื้อกูลกัน ผู้คนที่ย้ายไปอยู่ที่อื่นมักกลับมาเยี่ยมเยือนมิตร สหาย มาทําบุญ เพราะยังผูกพันคิดถึงนางเลิ้งและมักพูด เสมอว่า “ฉันรักนางเลิ้ง”
วันนี้นางเลิ้งเปลี่ยนแปลงไป แต่ผู้คนย่าน นางเลิ้งต่างมีความทรงจําที่ภาคภูมิใจในอดีตของตน มีตลาดนางเลิ้งตลาดโบราณที่ชาวบ้านเห็นคุณค่า มี โรงหนังศาลาเฉลิมธานี (โรงหนังนางเลิ้ง) ที่อยู่ในสภาพ ทรุดโทรมแต่ชาวบ้านภาคภูมิใจในความเป็นโรงหนังเก่า โบราณที่หาดูได้ยากในย่านเก่ากรุงเทพมหานคร มีละครชาตรี ปี่พาทย์ ของทายาทครูพูน เรืองนนท์ที่ พยายามสืบทอดมาจนทุกวันนี้ท่ามกลางกระแสความ นิยมการแสดงสมัยใหม่ ความสํานึกการเป็นคนนางเลิ้งยัง ปรากฏให้เห็น ทุกคนมีศูนย์รวมจิตใจที่วัดสุนทรธรรมทาน วัดโสมนัสราชวรวิหาร และศาลเจ้าตลาดนางเลิ้ง
วันนี้ถึงนางเลิ้งจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรคน นางเลิ้งยังรักถิ่นฐานและภาคภูมิใจบ้านเกิดของตน