อีเลิ้ง ศิลปะกับชุมชน อะไรเกิดก่อนกัน
จะแปลคำว่า socially-engaged art ในภาษาอังกฤษอย่างไร? ตามตำราการแปล นักแปลต้องชี้ให้ได้ก่อนว่าแต่ละคำทำหน้าที่อะไร คำไหนคือคำนามหลัก คำไหนคือคำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่อธิบายรูปลักษณ์หน้าที่ของคำนามนั้นๆ สำหรับคำว่า socially-engaged art ถ้าจะแปลให้ตรงตัวก็คงต้องแปลว่า ศิลปะที่ทำงาน(เกี่ยว)กับสังคม แต่จะแปลแบบนี้ก็ยาวไป คำที่ถูกใช้แทนและได้ยินบ่อยๆ จึงเป็นคำว่า “ศิลปะชุมชน” จะแปลว่าอะไรก็ตาม คำนามที่เป็นตัวเอกนำคือคำว่า “ศิลปะ” อยู่ดี งาน “อีเลิ้ง” โดยนวรัตน์ แววพลอยงาม หรือน้ำมนต์ ทำให้ตั้งคำถามต่อว่าแล้วศิลปะในตัวของมันเองจะเมินเฉยต่อสังคมการเมืองรอบข้าง และตัดขาดออกจากกันได้จริงเหรอ? แน่นอนว่าข้อถกเถียงนี้สามารถโต้กันได้ไม่รู้จบในโลกศิลปะ “อีเลิ้ง” เองไม่ได้เป็นโครงการที่มาตัดสินว่าใช่หรือไม่ ว่าไก่หรือไข่เกิดก่อนกัน หากในที่นี้ ไก่คือศิลปะและไข่คืองานชุมชนสังคมการเมือง แต่ “อีเลิ้ง” แสดงให้เห็นว่าศิลปะสำหรับ “อีเลิ้ง” ไม่จำเป็นต้องมีคำวิเศษณ์ใดนำหน้า เพราะการทำงานกับชุมชนร่วมกันและด้วยกัน เป็นส่วนหนึ่งและหัวใจของกระบวนการศิลปะอยู่แล้วแต่ต้น
How does one translate the word socially-engaged art into Thai? The translator must first identify the part of speech of each component. Which is the principal noun, and which is the adjective that describes it. As for ‘socially-engaged art,’ the noun and hence the meaning’s focus is on the last word, art. However, ‘E-learng,’ a project by Nawarat Welployngam or Nammon, begs us to question whether art itself could really ignore the surrounding socio-political context. In other words, is it possible for art not to be socially-engaged. This topic on ethics of the art can be and have been discussed and argued endlessly within the art world. E-learng is not a kind of project that decided what was right or wrong; or which came first, the chicken or the egg, when the chicken was the art and the egg was the social and surrounding communities. What E-learng did was to demonstrate that art, as well as all the participants did not need any adjective, because working with and alongside the communities, was the core essence of their artistic process.
อีเลิ้งเป็นโครงการจัดทำภาพยนตร์สารคดีเชิงทดลอง ที่เชิญศิลปิน 7 คนมาทำหนังสั้นด้วยโจทย์ปลายเปิด ว่า “อะไรก็ได้เกี่ยวกับชุมชนนางเลิ้ง ” ภายในช่วงเวลา 1 ปี เมื่อเสร็จสิ้นแล้วก็จะฉายหนังทั้ง 7 เรื่องที่โรงภาพยนตร์เฉลิมธานี โรงหนังประจำชุมชนนางเลิ้งที่ทางการฯ ร่ำๆ ว่าจะถูกทุบให้กลายเป็นที่จอดรถตลอดหลายปีที่ผ่านมา เหตุผลที่ชุมชนได้รับคือเมื่อโรงหนังร้างกลายเป็นที่จอดรถ พื้นที่กว้างกลางเมืองนี้ก็จะสามารถสร้างกำไรและงานให้กับชุมชนได้
E-learng is a project that invited 7 artists to produce experimental short documentaries on ‘anything about Nangloeng community.’ After a year of production, the project screened all 7 shorts at the Chalermthani cinema, a cinema situated at the heart of Nangloeng’s community which for the past years have survived the officials’ endeavors to demolish and transform it into an empty parking lot. The officials cited that with sheer expansive space that the parking lot could potentially provide, the space could generate more profit and jobs to the community itself.
“เวลาชุมชนอ่อนแอ เรื่องนี้ก็จะถูกนำเสนอขึ้นมาอีก” น่าสนใจว่า “อ่อนแอ” ในที่นี้ในแง่หนึ่งหมายถึงชั่วขณะที่โรงหนังนางเลิ้งไม่ได้เป็นจุดสนใจหลักของชุมชนอีกต่อไป แต่หากมองให้ลึกลงไปเบื้องหลังความไม่สนใจนั้นคือการเลือนหายของความทรงจำที่ชุมชนมีต่อพื้นที่เฉพาะดังกล่าว และในกระบวนการการทำหนังสั้นทั้ง 7 เรื่องนี้เอง กระบวนการการรวบรวมจัดเก็บความทรงจำที่เรียกร้องให้คนในชุมชนคายเรื่องเล่าจากอดีต ไปสะกิดและกระตุ้นให้คนสร้างความทรงจำร่วมกันใหม่ ที่ทับซ้อนอดีต จากจุดยืนในปัจจุบัน
‘Whenever the community is “weak,” the issue re-emerges.” What we meant by ‘weak’ referred to when the potential destroy of the Chalermthani cinema was out of the community members’ views. To further interpret, however, it was also about the fading collective memory that the community members built and shared with a specific place.
It was the process of making these 7 shorts, aiming to collect these shared memories and demanded the people to recollect the past, that jolted everyone to create new shared memories, upon the past, from the present.