เสี่ยงสูง แต่รวมใจสู้ : เมื่อชุมชนนางเลิ้งเผชิญหน้าโควิด 19 ระลอกสาม

“ย่านนางเลิ้ง” เป็นอีกชุมชนกลางกรุงที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และกำลังหาทางจัดการให้ทุกชีวิตรอดจากโควิด 19 ระลอกสาม

ก่อนหน้านี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 18 ราย และวันที่ 27 เม.ย. 64 ตรวจพบเพิ่มเติมอีก 4 คน ส่วนใหญ่ติดมาจากสถานที่ทำงานเกือบทั้งหมด ส่วนคนที่ต้องกักตัวดูอาการเป็นส่วนใหญ่จะสัมผัสใกล้ชิดคนในครอบครัวเดียวกัน  แม้วันนี้ภาพรวมสถานการณ์โควิด-19 ในชุมชนนางเลิ้ง ผู้ติดเชื้อจะได้เตียงรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว แต่ก็ยังพบผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต้องกักตัวในชุมชน ซึ่งคือในบ้านพักที่อยู่เรียงรายใกล้ชิด เลยทำให้ต้องช่วยกันเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ที่ผ่านมาคนในชุมชนนางเลิ้ง มีบททดสอบชีวิตหลายเรื่อง เช่น ต้องเผชิญกับการจะถูกไล่รื้อจากการพัฒนาของเมืองใหญ่ เพราะเป็นพื้นที่เป้าหมายการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งคนที่นี่ต้องลุกมาต่อสู้ด้วยการรวมกลุ่มพัฒนาย่านให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และครั้งนี้ต้องสู้อีกครั้งกับสถานการณ์โควิด-19 รอบสาม

High Risk but Coming Together: The Nang Loeng Community confronts the third wave of the Covid-19 pandemic

The Nang Loeng community is another densely populated area in central Bangkok that is trying to find ways to cope amidst the third wave of the Covid-19 pandemic. Previously, 18 cases of Covid-19 were detected, and, on April 27, 2021, another 4 cases were discovered. Most were infected at their workplace, while those that had to be quarantined were family members. Although in general, those infected in the community will have access to hospital beds, those at high risk of infection are still being quarantined within the community. The density of the residential areas requires special vigilance. The community has been tested before. For example, they had to confront the prospects of being demolished and moved to make way for the MRT’s Orange Line. The community responded by coming together to develop the area as a historic tourist area. Now, they had to confront the third wave of the Covid-19 pandemic.

รายการนักข่าวพลเมือง C-Site ได้มีโอกาสพูดคุยกับพี่แดง หรือคุณสุวัน แววพลอยงาม ผู้นำชุมชนนางเลิ้ง ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  

The “Citizen Reporter” program of C-Site had the opportunity to speak with “P’Daeng” or Khun Suwan Waenphloingam, a Nang Loeng community leader about the situation.

ชาวนางเลิ้งรับมือกับโควิด-19 รอบแรกกับรอบสาม มันต่างหรือหนักเบาต่างกันอย่างไรบ้าง?

พี่แดง : ต่างกันมาก รอบแรกพวกพี่ไม่มีทิศทางอะไรเลย แต่เนื่องจากการทำงานของชุมชนนางเลิ้งซึ่งมีความเข้มแข็งด้วยตัวของมันอยู่แล้ว สามารถจัดการในระบบของผู้ช่วยเหลือได้

ในครั้งแรก ผู้ช่วยเหลือจะมาจากภาคประชาสังคมต่าง ๆ ทั้งอาจารย์ นักศึกษาเข้ามาคนช่วยเยอะมาก เครือข่ายสวนผักคนเมือง และกลุ่ม SOS แต่ครั้งนี้แทบจะไม่มีจากภายนอกเลย เหลือแค่กลุ่ม SOS กับสวนผักคนเมืองซึ่งจะมาในวันศุกร์นี้ (30 เม.ย.) แตกต่างกันคือคนช่วยน้อยลง แต่ชุมชนมีความเข้มแข็งมีการจัดระบบตนเองค่อยข้างดี ว่าจะต้องทำอะไรอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางอาหาร

How have the people of Nang Loeng responded to the first and third waves of the pandemic? Have the responses been different or has the situation become more serious? If so, how?

P’Daeng : It has been very different. During the first wave, we were completely directionless. However, since we already had solidarity as a community, we were able to organize a system to assist those in need.At first, those who could help were from the civil society, including academics and students, the urban allotments network, and the SOS group. However, for the third wave, we had virtually no outside help, apart from the SOS group and the urban allotments network, who will come this Friday (April 30). Another difference is that there are fewer people coming to help, but the community is stronger and has a better system to manage the situation, especially in terms of food security.

ชาวชุมชนนางเลิ้งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอะไร ความกังวลใจของชุมชนมีเรื่องอะไรบ้าง?

พี่แดง : คนที่ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นทั้งนั้นเลย นำมาติดครอบครัว ลักษณะของบ้านที่นี่เป็นหลังเล็ก ๆ เขาก็มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว แต่เนื่องจากมีประสบการณ์จากการเจอโควิดรอบแรก ข้อดีคือคนในชุมชนรู้ว่าจะมาแจ้งกับใคร รู้ว่าพี่เป็นอาสาสมัคร  ชาวบ้านกับชุมชนก็ช่วยกันล้วน ๆ ไม่ได้เกี่ยวกับภาครัฐ ความกังวลใจของพี่ตอนนี้ก็คือการจัดการจากภาครัฐมากกว่า จะช่วยอย่างไร จะทำอย่างไร จะไปส่งต่อยังไง เพราะถ้าไม่ชัดเจนผู้คนก็เกิดการหวาดระแวง

What kind of professions do the majority of the Nang Loeng community engage in? What are their main concerns?

P’Daeng : Most of those infected were teenagers, who then passed it on to their families. The residences here are small, so the risk is already high. However, since we had experience with the first wave, people in the community were aware of who they had to alert, they knew I was a volunteer, and the people helped each other without state assistance. My main concern right now is to do with state assistance – what can they help us with? How will they help us? How can they transport the patients? The lack of clarity causes doubts and concerns.

ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนตอนนี้อยู่กันหนาแน่นไหม การแยกกักตัว หรือจะเว้นระยะห่างทางสังคมในชุมชนทำได้มากน้อยแค่ไหน 

พี่แดง : พูดตามความจริง ห้องก็เล็กอยู่แล้ว เป็นแฟลตก็ต้องนอนรวมกัน พ่อ แม่ ลูก หลาน เรื่องการเว้นระยะห่างคือทำไม่ได้เลย เรื่องการกักตัวคือกักกันเองในห้องของตัวเองเท่านั้น ค่อนข้างแออัดเกินไป อย่างมีคุณยายมีลูกห้าคนอยู่บ้านหลังเดียวกัน แออัดมาก ห้องน้ำเดียวกัน กินก็ต้องเดินผ่านคนแก่ที่นอนข้างล่าง อันนี้คือความเสี่ยงสูงมากเลย

Are the people in the community still living closely packed together? How effective are the quarantine and social distancing measures?

P’Daeng : To tell the truth, the rooms and flats here are small and everyone sleeps together – the father, the mother, and the children. So social distancing is impossible. As for the quarantine, they quarantine themselves in their rooms, which are often too crowded. For example, a grandmother has five children living with her – but they use the same bathroom and when they eat they have to walk past the elders who sleep on the ground floor. So this makes it a high risk situation.

ตั้งแต่เกิดโควิด-19 รอบแรกนี้ชุมชนช่วยตัวเองกัน แล้วมีหน่วยงานไหนเข้าไปหรือยัง

พี่แดง : ที่ผ่านมาคือร้อยเปอร์เซ็นต์ คือชุมชนช่วยตัวเอง แต่สิ่งที่เราภูมิใจที่สุดเรามีคนช่วยหลายกลุ่ม เราก็มีการจัดสรรกันค่อนข้างดี แบ่งเป็นแขวงห้าชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงเชื่อมโยงกัน เราแบ่งคนไปเลยว่าดูพื้นที่ไหน และแจ้งเข้ามาในไลน์กลุ่ม และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือพ่อค้าแม่ค้าในตลาดเป็นคนรวบรวมและให้อาหารวันละสามมื้อ ผลไม้ หน้ากากอนามัยและน้ำมันก็เลยทำให้ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน พ่อค้าแม่ค้า กลืนไปในที่เดียวกันทำให้ระบบเราค่อยข้างดี แม้จะเสี่ยงสูง ยากที่จะเว้นระยะห่าง ก็เลยต้องรวมใจรวมกลุ่มกันต่อสู้ จัดการ ช่วยเหลือกันในชุมชน แต่ไม่มีใครรู้ว่าการระบาดของโควิด 19 จะสิ้นสุดลงเมื่อใด พี่แดงและคนที่นี่ก็กำลังพยายามจัดระบบหาแนวทางที่ต่อยอดให้ดีขึ้นกว่าเดิมอยู่ เพื่อความปลอดภัยของทุกชีวิตที่นี่

Ever since the first wave of Covid-19, the community has been helping each other. Have any other agencies come in to help?

P’Daeng : In the past, it was 100 percent the community helping each other. But what we are most proud of is that there were so many groups that helped. We also had quite a good organization. We divided the community into 5 zones, and assigned people to supervise each zone, and communicated via a LINE group. Most importantly, the merchants in the market came together to gather and provide food, fruit, medical masks, and oil. In this way, the people, community leaders, and merchants were able to come together. Although there are high risks and difficulties in social distancing, we have come together to fight, deal with the situation, and help each other as a community. None of us know when the pandemic will end. So I, together with the community, will still try to find ways to improve the system for everyone’s safety.



CommunityxCovid19
Thai PBS