เรื่องของควาย... บันทึกจากท้องทุ่ง

เรื่องของควาย... บันทึกจากท้องทุ่ง

of buffalos... notes from the field 

 

“นางเลิ้ง เป็นชุมชนเก่าแก่ในเขตเมืองเก่าของกรุงเทพ เป็นแหล่งสำคัญในการแลกเปลี่ยนเมื่อกว่า 100 ปีก่อน ยามผู้คนเดินทางมาถึงจากต่างถิ่นและพื้นฐานวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่เติมแล้วถูกเรียกว่า ชุมชนสนามควาย สนามควายแปลว่า ‘ทุ่งของควาย’ เพราะมีควายอาศัยอยู่มากมาย ในขณะที่มีม้าอยู่เพียงไม่กี่ตัว ‘ทุ่งควาย’ ของเราชวนให้หวนนึกถึงประวัติศาสตร์ของนางเลิ้ง กับอิทธิพลแห่งชีวิตที่แท้จริงที่สร้างสถานที่แห่งนี้ขึ้นมา แต่ก็ยังเป็นวิธีที่ปลุกเราภายในจิตวิญญาณของคนในท้องถิ่นและวัฒนธรรมของพวกเขาด้วย

 “Nang Lerng is a long-standing community in the Old Town area of Bangkok, an important node of exchange when people arrived more than 100 years ago from many different places and cultural backgrounds. It was originally called the Sanam Kwai community, Sanam Kwai meaning 'field of buffalos' because there were many buffalos living there when there were only a few houses. Our 'Buffalo Field' recalls the history of Nang Lerng, with the original forces of life that created this place, but also the way something is awakening in the spirit of local people and their culture.”

นางเลิ้งเป็นที่รู้จักในฐานะตลาดอาหารชื่อดังและย่านประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงเก่า จุดเชื่อมต่อเกาะรัตนโกสินทร์กับเมืองใหม่ ก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะเกิดขึ้น ที่แห่งนี้มีชื่อเสียงในหมู่นักท่องเที่ยว ที่แห่งนี้เต็มไปด้วยตึกเก่าแก่และสถาปัตยกรรมยุคล่าอาณานิคม รวมถึงโรงหนังไม้ที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งก็คือศาลาเฉลิมธานี และวัดแคนางเลิ้ง ชาวชุมชนดั้งเดิมก็ยังคงอาศัยอยู่ที่นี่ แม้ว่าพวกเขาจะอยู่เบื้องหลังหน้าร้านที่ปรับปรุงใหม่ และการเดินได้หลงเสน่ห์ของหลังตรอกแคบๆ ฝาสังกะสีขึ้นสนิมที่บ่งบอกถึงสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดีนักของคนในท้องถิ่นที่แม้จะอยู่กันมาต่อเนื่องหลายชั่วอายุคนในสถานที่แห่งนี้ก็ตามที แต่ลักษณะกายภาพของเมือง ประกอบด้วยรูปแบบการตั้งถิ่นฐานในรูปแบบง่ายๆ และย่ำแย่ ซึ่งต้องการการปรับปรุงเป็นอย่างมาก ความเร่งด่วนใดๆ ในละแวกนี้ มีแต่จะเพิ่มความไม่แน่นอนให้ลึกซึ้งขึ้น ท่ามกลางข้อมูลในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ นางเลิ้งถูกลดแรงกระแทกจากผลกระทบของโครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่ต่อมายังบริเวณชายขอบ หรือแนวตะเข็บเมืองเก่า แต่สิ่งนี้จะถูกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) ในปัจจุบัน โดยมีการวางแผนให้มีสถานีบริเวณริมพื้นที่ชุมชน นำมาซึ่งการขับไล่ที่สำหรับคนบางคนในทันที และในความไม่แน่นอนระยะยาวสำหรับคนอื่นๆ เนื่องจากการเก็งกำไรในที่ดินที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งมาพร้อมกับที่ดินที่เข้าถึงการพัฒนา

 Nang Lerng is known as a famous food market and a historic neighbourhood on the northern edge of the old Bangkok Chinatown area. Before the COVID-19 pandemic it was popular with tourists, full of old shophouses and colonial architecture; including Thailand’s oldest freestanding wooden cinema, Sala Chalerm Thani, and a Buddhist temple, Wat Care Nang Loeng. The original community still lives here, although behind the renovated shopfronts and wandering charm of narrow back alleys, the rusted iron cladding indicates the poor living conditions for local people. Despite the continuity of many generations in this place, the urban fabric constitutes an informal settlement typology in dire need of upgrading. Any urgency around this only adds to a deeper uncertainty in the light of gentrification. Nang Lerng has been cushioned from the juggernaut of city infrastructure to some extent, on the fringe of the old town. But this will change quickly via a recently approved metro line (MRT), with stations planned at the edge of the community, bringing immediate evictions for some, and long term uncertainty for everyone else as land speculation skyrockets with improved access to the area.

นางเลิ้งมักเป็นสถานที่ที่ศิลปะทับซ้อนกับความเป็นสหวิชาการและอิทธิพลของการข้ามวัฒนธรรม จากกลางศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเคยเป็น “สถานที่ทันสมัยที่มีนักดนตรีที่มีชื่อเสียง วงดนตรี ดารานักแสดงมารวมตัวกันในพื้นที่”และกิจกรรมแห่งความบันเทิงเหล่านั้นดำเนินเรื่อยมา รุ่งเรือง ซบเซา สลับกันตามวัฎจักรแห่งกงล้อเวลา จวบจนช่วงปี 2012-2014 บรรดาสถาปนิกชุมชน Openspace ได้นำกระบวนการการอนุรักษ์ โดยร่วมมือกับคนท้องถิ่น ใช้การเล่าเรื่องราว การออกแบบโดยมีส่วนร่วมและกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันเพื่อฟื้นฟูอาคารและรื้อฟื้นวัฒนธรรมในความทรงจำ การทำงานอย่างใกล้ชิดกับ อีเลิ้ง กลุ่มศิลปะชุมชนที่ประจำอยู่ที่นางเลิ้ง โครงการอนุรักษ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่ต้องการจะ “ปรับปรุง” ความเป็นกลุ่มก้อนของชุมชุนให้เป็นกระบวนการของการมีแนวทางหลากหลายในการวางแผน ออกแบบและจัดการพื้นที่สาธารณะ กลุ่มอีเลิ้งได้ดำเนินโครงการศิลปะและงานเทศกาลมากมายกับผู้อาศัยในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ พร้อมกับต้อนรับศิลปินที่มาเยือน และอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น อย่างเช่น ชาตรี ซึ่งเป็นรูปแบบของเพลงและการเต้นรำ พวกเขาเห็นว่าศิลปะและวัฒนธรรมได้ให้เครื่องมือในการมีส่วนร่วมกับชุมชน มีการพัฒนาและการขับเคลื่อนมวลชนได้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำอาจหยิบยื่นกิจกรรมและสนับสนุนให้เกิดการแสดงออกแบบใหม่ และเทคนิคสร้างสรรค์สำหรับการอาศัยได้อย่างยั่งยืน

Nang Lerng has always been a place where art scenes overlap with interdisciplinary and cross-cultural influences. From the mid 19th to the early 20th it was a “...happening place with famous musicians, music bands, actors and actresses all gathering in the area”. Between 2012-2014, community architects Openspace led a conservation process in collaboration with local people, using storytelling, participatory design and co-creation activities to restore the building and revive its cultural memory. Working closely with E-Lerng, an art collective based in Nang Lerng, the conservation project was at the same time intended to ‘renovate’ community cohesion as a process of sustainable placemaking. The E-Lerng collective has run many art projects and festival events with residents over the years, while hosting visiting artists and conserving local traditions such as the Chatri form of song and dance. They see how art and culture provides tools for community engagement, development and collective mobilization, especially where issues of poverty and marginality may offer new expression for activism and advocacy, and creative techniques for sustainable living. 

ศิลปะ
openspace